วันจันทร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2558

โครงงานการทำดอกไม้จันทน์ ม.6/6


โครงงานการทำดอกไม้จันทน์

เสนอ


คุณครู วราภรณ์  ยอดชะลูด



สมาชิกในกลุ่ม

       ประวัติส่วนตัว  



     1.นางสาว ณัฐธิดา กับรัมย์ เลขที่ 16
               - ชื่อนุ่น อายุ  17 ปี
               - ชอบสีฟ้าาาา
               - อาหารที่ชอบ ข้าวผัด
               - อนาคตอยากเป็นครูสอนภาษา








           2.นางสาว ทัดดาว ยาเพ็ชร เลขที่ 17
                  - ชื่อแตงโม อายุ 17 ปี
                  - ชอบสีชมพู
                  - อาหารที่ชอบ ข้าวกระเพราหมูกรอบ
                  - อนาคตอยากเป็นครูสอนศิลปะ








                3.นางสาว ทิพวรรณ กรุกรัมย์ เลขที่ 18
                      - ชื่อจอย อายุ 18 ปี
                      - ชอบสีชมพู
                      - อาหารที่ชอบ ข้าวผัดคะน้าหมูกรอบ
                      - อนาคตอยากเป็นครู







           4.นางสาว ปนัดดา พงษ์ธนู เลขที่ 19
                  - ชื่อน้ำอ้อย อายุ 18 ปี
                  - ชอบสีฟ้า
                  - อาหารที่ชอบ ยำยอ
                  - อนาคตอยากเป็นครู 








           5.นาวสาว สุภาพร ทะนวนรัมย์ เลขที่ 26
                 - ชื่อหนิง อายุ 17 ปี
                 - ชอบสีฟ้า
                - อาหารที่ชอบ ยำไก่
                - อนาคตอยากเป็นครูคณิตศาสตร์
  







          6.นางสาว อนุสรา ป้องภัย เลขที่ 30
                 - ชื่อเอิร์น อายุ 17 ปี
                 - ชอบสีชมพู
                 - อาหารที่ชอบ ไก่ทอด
                 - อนาคตอยากเป็นครูภาษา






โครงงานการทำดอกไม้จันทน์


ประวัติความเป็นมาของดอกไม้จันทน์

                   ประวัติความเป็นมาสมัยก่อนในการจัดทำพิธีฌาปนกิจศพ มีธรรมเนียมการใช้ดอกไม้จันทน์ควบคู่กับธูปทองและเทียนทอง เพราะเชื่อว่ากลิ่นหอมของดอกไม้จันทน์จะนำดวงวิญญาณของผู้ที่ล่วงลับไปสู่สรวงสวรรค์ บ้างก็ว่า เนื่องมาจากในสมัยก่อนนั้นเรายังไม่มีการฉีดยา หรือวิธีการที่จะรักษาศพไม่ให้มีกลิ่นเหม็น ดังนั้น ในการเผาศพ จึงต้องใช้ดอกไม้จันทน์ซึ่งทำมาจากไม้จันทน์ หรือต้นจันทน์ อันเป็นไม้ที่มีกลิ่นหอม ซึ่งในสมัยก่อนจะนิยมใช้ไม้จันทน์เฉพาะในงานศพของราชวงศ์ชั้นสูงเท่านั้น ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 เนื่องจากดอกไม้จันทน์เริ่มหายากขึ้น จึงมีผู้คิดค้นประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์เทียม โดยการนำไม้จันทน์มาทำเป็นแผ่นบาง ๆ นำมาเข้ารูปลักษณะคล้ายดอกไม้ชนิดต่าง ๆ แต่รวมเรียกว่า ดอกไม้จันทน์ ใช้ในงานพิธีหลวง ต่อมาจึงแผ่ขยายการใช้ดอกไม้จันทน์เทียมในหมู่สามัญชน จึงเริ่มมีธรรมเนียมการใช้ในหมู่สามัญชน เริ่มธรรมเนียมการใช้ตั้งแต่นั้นมา โดยแขกที่มาร่วมงานจะนำดอกไม้จันทน์ไปวางไว้ที่พานหน้าโลงศพ เป็นการเผาหลอกก่อน แล้วจึงนำดอกไม้จันทน์ทั้งหมดไปใช้ในการเผาจริงอีกครั้ง ต่อมาไม้จันทน์ที่ใช้ทำดอกไม้จันทน์หายากจนแทบหาไม่ได้เลย จึงเปลี่ยนไปใช้วัสดุอย่างอื่นแทน เพราะหาง่ายและมีราคาถูก แต่แก่นแท้ของธรรมเนียมการใช้ดอกไม้จันทน์ก็ยังไม่เปลี่ยนไป ดอกไม้จันทน์แบบทั่วไปที่นิยมใช้กันมาเป็นแบบธรรมดาส่วนใหญ่ทำเป็นรูปดอกกุหลาบ ดอกแก้ว มีขั้นตอนการทำที่ไม่ยุ่งยาก และมีสีสันตายตัวคือ สีขาว สีครีม หรือสีดำ      แต่ในยุคปัจจุบันด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านที่สร้างสีสันต่าง ๆ ของดอกไม้จันทน์ ทำให้ดอกไม้จันทน์มีความแปลกในรูปแบบ สีสันที่เปลี่ยนไป ทำให้ทัศนคติของคนที่นำไปใช้มีความรู้สึกว่า การใช้ดอกไม้จันทน์เพื่อเป็นการเคารพ ระลึกถึงผู้ล่วงลับ ไม่มีบรรยากาศของความโศกเศร้าเพียงอย่างเดียว
ความเชื่อที่เกี่ยวข้องไม้จันทน์
              เป็นไม้ชนิดหนึ่งที่เชื่อว่าเป็นไม้สูงศักดิ์ มีคุณค่า หายาก จึงมีการนำไม้จันทน์มาเป็นส่วนหนึ่งของการประกอบพิธีศพ โดยอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของหีบศพหรือโลงศพ เป็นฟืนที่ใช้เผาศพ ต่อมาไม้จันทน์มีน้อย หายากหรือแทบหาไม่ได้เลย จึงนำไม้จันทน์มาเป็นส่วนในการประกอบพิธีเพียงเล็กน้อยเท่านั้นก็ได้เพราะอย่างน้อยก็ยังได้ชื่อว่ามีไม้จันทน์ในการประกอบพิธีในครั้งนั้น ๆ ปัจจุบันไม้จันทน์ หายากมากจนแทบหาไม่ได้เลย จึงมีการนำไม้ชนิดอื่นมาทดแทนและประดิษฐ์ในรูปของดอกไม้ประดิษฐ์เป็นสิ่งทดแทนเพื่อให้สะดวกต่อการใช้งาน เรียกว่า ดอกไม้จันทน์
                ตามคติความเชื่อของคนไทยพุทธแต่โบราณ ถือว่าการจัดงานฌาปนกิจศพให้คนตาย เป็นการแสดงความเคารพ และไว้อาลัยครั้งสุดท้าย ทุกสิ่งที่จัดทำจะต้องประณีตและดีที่สุดเท่าที่ฐานะจะเอื้ออำนวย เพราะเชื่อว่าผู้ตายจะได้ไปสู่สุขคติและเมื่อเกิดใหม่ก็จะพบแต่สิ่งที่ดีงาม
                มีการสันนิษฐานว่าราวๆ ประมาณ ๑,๕๐๐ ปีก่อน มนุษย์ยังไม่มีการฉีดยาศพ หรือฉีดฟอร์มาลีน และวิธีการที่จะรักษาศพไม่ให้มีกลิ่นเหม็น ดั้งนั้นในการประกอบพิธีฌาปนกิจศพ จึงใช้ไม้จันทน์มาเป็นส่วนในการประกอบพิธี เพื่อบรรเทากลิ่นศพ


ประโยชน์ของดอกไม้จันทน์

            
                  จะใช้ไหว้หรือเคารพผู้ที่ล่วงลับแล้ว สำหรับสาเหตุที่นำดอกไม้จันทน์มาใช้ในพิธีเผาศพ เนื่องมาจากในสมัยก่อนนั้นเรายังไม่มีการฉีดยาศพ หรือวิธีการที่จะรักษาศพไม่ให้มีกลิ่นเหม็น ดังนั้น ในการเผาศพ จึงต้องใช้ดอกไม้จันทน์ซึ่งทำมาจากไม้จันทน์ หรือต้นจันทน์ อันเป็นไม้ที่มีกลิ่นหอม ซึ่งในสมัยก่อนจะนิยมใช้ไม้จันทน์เฉพาะในงานศพของราชวงศ์ชั้นสูงเท่านั้น เนื่องจากไม้จันทน์หายากและมีราคาแพง ต่อมากรมพระยาดำรงราชนุภาพจึงได้คิดค้นให้ใช้ไม้จันทน์ทำเป็นแผ่นบางๆ มัดเป็นช่อเรียกว่าดอกไม้จันทน์เพื่อให้ผู้ที่มาร่วมงานศพได้นำไปวางที่เผาศพและนิยมใช้จนถึงปัจจุบัน


อุปกรณ์ในการทำดอกไม้จันทน์
1.           กระดาษย่น






2.           กรรไกร



3.          ด้าย



4.           เทปพันก้าน



5.          ไม้เสียบลูกชิ้น



6.           ไม้จันทน์



8.          ธูป ที่ตัดไว้เรียบร้อยแล้ว



9.     เทียน ที่ตัดไว้เรียบร้อยแล้ว





วิธีการทำ
1.           เตรียมไม้เสียบลูกชิ้นมาทำเป็นก้าน  จากนั้นนำกระดาษย่นมาม้วนทำเกสร  แล้วนำด้ายมาพันให้แน่น


2.          นำกระดาษย่นมาทำเป็นกลีบ จนครบ 5 กลีบ รวมกับเกสร




                3.           นำไม้จันทน์ มาใส่ติดกับก้าน แล้วนำด้ายมาพันให้แน่น




4.           นำเทปพันก้าน มาพันรอบๆ ก้าน


5.     จากนั้นนำ ธูป และเทียน ที่ตัดไว้ มาใส่ด้านล่างของก้าน และตัดตกแต่งให้เรียบร้อย



6.           ก็จะได้ดอกไม้จันทน์ที่เสร็จสมบูรณ์